เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับโครงการ

ในขณะที่หลายในสังคมไทยยังมองว่า การพนันเป็นปัญหาส่วนบุคคล ทำให้สังคมไทยเรามองข้ามความสำคัญของปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางและรุนแรงในสังคม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนที่ยังขาดภูมิคุ้มกัน ยังมีความรู้ไม่เท่าทันและอาจเป็นเหยื่อของการพนัน ซึ่งมีผลกระทบต่อสมองและจิตใจเช่นเดียวกับสิ่งเสพติด

นอกจากนี้ ในปัจจุบันกลไกการจัดการปัญหาการพนันในระดับประเทศ ของเรายังไม่ทันเหตุการณ์และยังไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาจากการพนันทีเกิดขึ้นได้  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานและบุคคลที่มีความห่วงใยต่อสังคมดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกันและลดผลกระทบจากการพนัน ตั้งแต่ ปี 2550 เป็นต้นมา

 

2550 

แผนส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข

ผลงานเด่น

1. แผนแม่บทส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข

2. (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการควบคุมการพนันแห่งชาติ พ.ศ. ....

2553 - 2555

โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนสังคมปลอดพนัน

ผลงานเด่น

1. ข้อเสนอนโยบายเพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนจากการจำหน่ายสลากเลขท้ายฯ ได้ถูก ปปช. นำไปเป็นข้อมูลประกอบการทำความเห็นต่อ ครม.

2. คู่มือจรรยาบรรณการรายงานข่าวกีฬา ของสภาการหนังสือพิมพ์

2556 - 2557

โครงการขับเคลื่อนสังคมและนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาจากการพนัน

ผลงานเด่น

1. ความรู้เรื่องผลกระทบต่อสมองจากการพนัน

2. ข้อเสนอนโยบายในการป้องกันเด็กและเยาวชนจากการพนันได้ถูกนำเสนอและการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ

2557 - 2559

โครงการขับเคลื่อนสังคมและนโยบายสาธารณะเพื่อลดผลกระทบจากการพนัน

ผลงานเด่น

1. มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการพัฒนานโยบายเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็กเยาวชนและครอบครัว

2. มติสมัชชาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนเรื่องเด็กและเยาวชนรู้เท่ามันสื่อออนไลน์

 

ก้าวที่หนึ่ง เสริมสร้างอุดมการณ์สังคม

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายทั้งด้านสุขภาพและด้านสังคม ได้ดำเนินการพัฒนาข้อเสนแนะและมาตรการในการป้องกันผลกระทบจากการพนัน  โดยดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ภายใต้ความร่วมมือเริ่มต้นระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  และศูนย์คุณธรรม  ดำเนินการแผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข ระยะที่ 1  ( 1 มกราคม – 30 กันยายน 2550) โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ แผนแม่บทส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข   และ (ร่าง)ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการควบคุมการพนันแห่งชาติ พ.ศ......

 

ก้าวที่สอง จัดการความรู้เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชน

ในปี 2553 มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ซึ่งมีเป้าหมายและความเชี่ยวชาญในการดำเนินการการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง สังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และ ภาคีเครือข่าย โดยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการป้องกันปัญหาจากการพนัน  ซึ่งทำให้มีชุดความรู้ เอกสารวิชาการ และบทเรียนการทำงานของชุมชน ในการป้องกันและลดผลกระทบจากการพนัน  และจัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะการลดปัญหาจากการพนัน” เป็นทำหน้าที่ เป็นศูนย์ประสานงานในการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ในการป้องกันและลดผลกระทบจากการพนัน  โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การสื่อสารกับสาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักในมิติสุขภาพต่อ ผลกระทบสมองเด็กและเยาวชนจากการพนัน  และการผลักดันข้อเสนอยุทธศาสตร์คุ้มครองเด็กจากการพนัน เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ  พิจารณาดำเนินการเป็นยุทธศาสตร์ต่อไป

 

ก้าวที่สาม เชื่อมประสานภาครัฐ ร่วมกำหนดโยบาย

ปี 2557 ถึง ปัจจุบัน  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ดำเนินการพัฒนา“ศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะการลดปัญหาจากการพนัน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ” เพื่อขับเคลื่อนความรู้ และสื่อสารสาธารณะสร้างความตระหนักต่อสังคม ในผลกระทบจากการพนันในมิติสุขภาพ และขยายบทบาทในการเชื่อมประสาน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบาย กับองค์กรต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ   สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต   กรมกิจการเด็กและ กรมการปกครอง  เป็นต้น   และการทำงานร่วมกับ เครือข่ายประชาสังคม เช่น เยาวชน  ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน  มูลนิธิสถาบันพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ  มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย สมาคมสื่อและวิทยุเพื่อเด็กและเยาวชน  สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย  เครือข่ายยุวทัศน์  กรุงเทพมหานคร  เป็นต้น  โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การผลักดันให้เกิดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่ 7.1 เรื่องพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง  โครงการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยไทยหยุดพนัน  เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นปลอดพนัน  ข้อเสนอแนะในการป้องกันเด็กและเยาวชนจากพนันออนไลน์ และการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค เป็นต้น